Event Date : 2020-07-15

Submission Deadline : 2020-18-15

Venue : ห้องประชุม วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จ.ขอนแก่น

Website : http://www.grad.cas.ac.th

กรอบทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย 1. ด้านสติปัญญา มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 มีนิสัยรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พึ่งตนเองได้ และมีความรู้ความสามารถหลากหลายด้าน (well-rounded) 2. ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาการเรียนรู้ มุ่งเน้นผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลทฟอร์ม และการสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการพัฒนาคนไทยตามพหุปัญญาให้เต็มตามศักยภาพ รวมถึงการพัฒนากลไกการทำงานในลักษณะการรวมตัวของกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษในหลากหลายสาขาวิชา ในการรวมนักวิจัยและนักเทคโนโลยีแนวหน้าเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของประเทศ แผนงานบูรณาการการสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ และแผนงานบูรณาการการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญา คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21

 นอกจากกรอบทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดต่อ Covid-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเหลื่อมล้ำในภาพรวมของคนไทยโดยเฉพาะในเรื่อง สุขภาพ การศึกษา ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว รายได้ การคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การอยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมในภาพรวม กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาและกลุ่มผู้ที่จบการศึกษา กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ และในระดับชุมชนต่าง ๆ ของคนไทย สหประชาชาติ (United Nation Department of Ecomomic and Social Affair) รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลก จากผลิตภัณฑ์มวลรวมที่คาดการณ์จะเติบโตในปี 2563 ที่ 3.2% คาดว่าผลจากโควิด 19 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกจะติดลบที่ -5.0% เป็นอย่างน้อย มูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั่วโลกจะหดตัว 13% ถึง 32% disrupting global ผลกระทบต่อการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้

1. UNESCO ประมาณการโควิด 19 ส่งผลต่อผู้เรียนนักเรียน นิสิต นักศึกษามากถึง 1.725 พันล้านทั่วโลก โดยโรงเรียนจำเป็นต้องปิดมากกว่า 153 ประเทศ มีเพียง 10 ประเทศที่ปัจจุบันมีการเปิดหรือเพิ่งเปิดคิดเป็น 98.6% ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานศึกษาทั่วโลก 

2. Distance learning: โรงเรียนสถานศึกษาใช้การสอนแบบ On-line และ On-air รวมถึงใช้แอปพลิเคชั่นจัดการประชุม/สอนออนไลน์ เช่น MS-Team, Zoom, WebEx, Facebook Live, Line เป็นต้น 3. Special education Services: การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กและเยาวชน ที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา การได้ยิน หรือบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพมีปัญหาทางการเรียนรู้ได้รับผลกระทบในการช่วยเหลือและได้รับการพัฒนาการ จากผู้เชี่ยวชาญ หรือทางโรงเรียนไปด้วย

จากหลักการ และความสำคัญดังกล่าว จึงเป็นพันธกิจสำคัญยิ่งของสังคมไทย และสังคมโลก ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงในมิติทางการเรียนรู้ในอนาคตของกลุ่มเป้าหมายนี้ ในมุมมองของ ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์กระแส  ชนะวงศ์ และนักวิชาการที่สำคัญหลายท่านจึงได้ให้ความสำคัญในเรื่อง แนวทางและแนวโน้มอุดมศึกษาหลัง covid-19 ควรเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาแนวใหม่ในยุคหลังจากวิกฤต covid-19 นำไปสู่การสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการให้ได้ ในฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษา จำเป็นจะต้องตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงรุก สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และการสร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ ที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาสนองความต้องการของสังคม ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาความรู้ (Knowledge) ทักษะ (skills) มุมมอง (perspectives) และค่านิยม (values) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับอาเซียนและนานาชาติรวมถึงการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาระดับชาติและนานาชาติ การจัดการปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาจึงต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติและการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับในปีการศึกษา 2563 บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานบริหารการศึกษาอีสานสัมพันธ์ ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ดังนั้นทางบัณฑิตวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 ร่วมกับงานบริหารการศึกษาอีสานสัมพันธ์ ครั้งที่ 12 โดยมีจุดมุ่งหมายในการเป็นเวทีทางวิชาการที่นำเสนอแนวคิดใหม่ในการบริหารการศึกษา เป็นเวทีให้นักวิจัยและนักวิชาการได้เสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และนานาชาติ อีกทั้งเป็นเวทีในการพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านกิจกรรมบริหารการศึกษาสัมพันธ์ และคาดหวังว่าการดำเนินงานตามโครงการนี้จะบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด เกิดความประทับใจแก่มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรม และเกิดความร่วมมือที่ดีในทุก ๆ ด้านต่อไป

จากการบูรณาการโครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 และงานบริหารการศึกษาอีสานสัมพันธ์ ครั้งที่ 12 เข้าด้วยกันวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จึงได้ตระหนักถึงพันธกิจสำคัญนี้อย่างยิ่ง รวมถึงนโยบายของวิทยาลัยจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งคุณภาพ (Quality First) โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีคุณค่าก่อให้เกิดการพัฒนาสนองนโยบายและกระบวนทัศน์ ดังนั้นวิทยาลัยบัณฑิตเอเซียร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในประเทศ 31 สถาบัน ต่างประเทศ 12 สถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวม 43 สถาบัน ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติขึ้น ในหัวข้อ “แนวทางและแนวโน้มอุดมศึกษาหลัง covid-19” ในวันเสาร์ที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดเวทีวิชาการในการเสนอผลงานวิจัย นวัตกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือทางวิชาการ นำไปสู่การประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ชาติและสังคมโลกต่อไป

ขอบเขตงานวิจัยที่เปิดรับให้นำเสนอ

[ED] การศึกษา

[HE] วิทยาศาสตร์สุขภาพ

[ES] วิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

[HS] มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์

[BE] บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์

[LI] นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[ESEC] บริหารศึกษา (สำหรับนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา) งานบริหารการศึกษาอีสานสัมพันธ์ ครั้งที่ 12

Organized by : บัณฑิตวิทยาลัยร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย และงานบริหารการศึกษาอีสานสัมพันธ์